นิทรรศการ “Wounded”
ศิลปิน เสกสรรค์ ทุมมัย (Seksun Toommai)
ลักษณะงาน งานจิตรกรรม
ประติมากรรม สื่อผสม จัดวาง
ระยะเวลาที่จัดแสดง วันที่ 2 - 27 เมษายน 2560
พิธีเปิดนิทรรศการ วันที่ 2 เมษายน 2560 เวลา 18.00 น.
ห้องนิทรรศการ
ห้องนิทรรศการชั้น
2
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 083-223-7623 เสกสรรค์
แนวความคิด
ข้าพเจ้าเคยสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกและการกระทำต่างๆของตัวเองรวมทั้งบุคคลอื่นๆรอบตัวของข้าพเจ้าว่า
เพราะเหตุผลอันใด ข้าพเจ้าและบุคคลเหล่านั้นจึงแสดงออกเป็นพฤติกรรมอย่างที่เห็นได้ทั่วไปในสังคม
ไม่ว่าจะเป็นอาการโมโหร้าย ขี้ปดมดเท็จ อิจฉาริษยา ลักเล็กขโมยน้อย ติดเหล้ายา รวมไปถึงการประทุษร้ายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
ข้าพเจ้าคิดว่าพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาลอยๆ แต่น่าจะประกอบไปด้วยเหตุผลและแรงจูงใจอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมนั้นๆ
เมื่อเกิดความสงสัย จึงเกิดคำถามและพยายามที่จะหาคำตอบเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยการย้อนเข้าไปศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดู
สภาพแวดล้อม ปัจจัยต่างๆโดยรอบของตัวศิลปินเอง อีกทั้งการฟังคำบอกเล่าในช่วงวัยเด็กของบุคคลอื่นๆ
รวมไปถึงการศึกษาอัตชีวประวัติในวัยเด็กของบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ ก็ได้พบกับเหตุผลที่ว่า
การกระทำที่เด็กได้รับจะถูกดูดซับเข้าไปผ่านจิตสำนึกเมื่อนานวันเข้าก็จะฝังตัวลงผ่านจิตก่อนสำนึกและลงไปสู่จิตใต้สำนึกก่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมต่างๆทั้งในด้านที่ดีและเลว
เมื่อเติบโตไปสิ่งเหล่านั้นเหมือนจะถูกลืมแต่ไม่ได้หายไปจริง ในบางเวลาจึงถูกขับออกมาเมื่อถูกกระทบด้วยปัจจัยบางอย่าง
ข้าพเจ้ามีความเห็นเช่นเดียวกับหลักจิตวิทยาของฟรอยด์
เกี่ยวกับสิ่งที่ว่า ในตัวของมนุษย์จะมีสองสัญชาตญานหลักใหญ่ๆสองตัว คือ สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต
และสัญชาตญานแห่งความตายประกอบกันอยู่ และมี ลิบิโดเป็นแรงขับแต่ถูก อิด อีโก้ และ
ซูเปอร์อีโก้ คลุมทับไว้อีกที
สัญชาตญานแห่งการมีชีวิตนั้นจะเป็นบ่อเกิดแห่งความสร้างสรรค์การมีชีวิตแสดงออกถึงพลังด้านบวก
ส่วนสัญชาตญานแห่งความตายจะเป็นสิ่งที่นำพามาซึ่งทั้งการประหัตประหารทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นเป็นพลังด้านลบ
หากตัวใดตัวหนึ่งมีมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อทั้งตนเองและต่อสังคมที่เราเป็นสมาชิกอยู่ได้
เพราะฉะนั้นการควบคุมสิ่งเหล่านี้ไว้ให้สม่ำเสมอไม่ให้ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันนี้
การเรียนรู้ผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจะสามารถทำให้เราดำรงชีพอยู่ในสังคมได้
เพราะเราสามารถนำมันมาปรับใช้กับปัจจุบันหรือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้รวมไปถึงการนำไปใช้ประโยชน์หรือควบคุมสถานการณ์ต่างๆได้ในสังคม
เพราะมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ตัวคนเดียวในสังคมได้แต่ต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ผลงานในนิทรรศการ Wounded เป็นการนำเอาบาดแผลที่เป็นผลกระทบในวัยเด็กมาเปิดออกและย้ำเตือนถึงการกระทำที่รุนแรงและเคยเกิดขึ้นมาแล้วต่อผู้ใหญ่หลายๆคนผ่านการสร้างสรรค์ในสื่อต่างๆที่เชื่อมกันระหว่างสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตและสัญชาตญานแห่งความตายเป็นการทำให้สิ่งที่ถูกเก็บกดเอาไว้ได้ถูกระบายออกมาเพื่อเป็นการรักษาระดับจิตใจเอาไว้ให้สมดุลย์และเพื่อให้ไม่เป็นการเกิดผลเสียต่อสุขภาพจิต
จนนำเอาไปใช้ในทางที่ผิดต่อการดำรงชีวิตในสังคม
บาดแผลที่เคยเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ทุกคนมันไม่มีทางปิดให้สนิทได้ในบางเวลามันอาจเกิดความเจ็บปวดขึ้นมา
สิ่งเดียวที่สามารถทำได้คือการเรียนรู้ที่จะอยู่คู่กับมันและไม่ทำให้มันเกิดขึ้นอีกเป็นวงโคจรที่ไม่มีวันสิ้นสุด