นิทรรศการ “Thinker-Thinking” (นักคิด – ครุ่นคิด)
ศิลปิน กลุ่ม ครุศิลป์รุ่น 6
พัชรินทร์
มีลาภ
นายเจริญ
ผิวนิล
นายพรสวรรค์
นนทะภา
ผศ.สากล สุทธิมาลย์
นายมงคล กลิ่นทับ
นายกฤษณะ ลิไทสง
นางสาวสุธินี อินทนี
นายกิตติศักดิ์ แก้วดุก
นายโชคชัย บุญเสนอ
ลักษณะงาน จิตรกรรม ประติมากรรม
ภาพพิมพ์ สื่อผสม
ระยะเวลาที่จัดแสดง วันที่ 4 - 24 กรกฎาคม 2560
พิธีเปิดนิทรรศการ วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 เวลา 18.00 น.
ศาสตราจารย์เดชา วราชุน
ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ
ห้องนิทรรศการ ห้องนิทรรศการชั้น1
ห้องนิทรรศการ 1
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 086-5842514 (มงคล)
แนวความคิด
กลุ่มครุศิลป์รุ่น 6 เป็นกลุ่มที่ได้รวมตัวกันจากการคัดเลือกผลงานดีเด่นจำนวน
10 คนในโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ครุศิลปะสร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ
รุ่นที่ 6”เพื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยี่ยมชมผลงานศิลปะระดับโลกซึ่งมีงานศิลปะที่น่าสนใจหลากหลาย
นอกจากนี้การไปถ่ายทอดงานศิลป์ยังทำให้กลุ่มครุศิลป์รุ่น 6 ทั้ง 10 คน มีความผูกพันกัน
และหลังจากกลับจากการนำผลงานไปเผยแพร่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วนั้นทางสมาชิกกลุ่มก็ได้เกิดความคิด
ความต้องการที่จะจัดนิทรรศการ กลุ่ม ครุศิลป์รุ่น 6 ให้เกิดความต่อเนื่องของกลุ่ม จึงทำให้เกิด
การจัดตั้งโครงการ การจัดนิทรรศการ กลุ่ม ครุศิลป์รุ่น 6 ครั้งที่ 1 “Thinker-Thinking”
ขึ้น
Thinker-Thinking มีที่มาจากการที่
กลุ่มครุศิลป์รุ่น 6 ได้เดินทางไปแสดงงานศิลปะและดูงานศิลปะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้มีโอกาสดูผลงานประติมากรรมที่ชื่อ
the thinker ของ Rodin และเกิดคำพูดติดตลกของกลุ่มว่า
“thinker ไม่ทิ้งกัน” และนอกจากนั้นเราก็ได้ศึกษาที่มาของผลงาน
“the thinker” หรือ "นักคิด" เป็นประติมากรรมบรอนซ์และหินอ่อนที่เป็นรูปชายนั่งคิดเหมือนมีความขัดแย้งภายใน เดิมชื่อ "กวี" เป็นงานที่จ้างโดย ในกรุงปารีสเพื่อเป็นรูปปั้นสำหรับประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์
โรแดงได้รับแรงบันดาลใจจากไตรภูมิดันเตของดันเต อาลีกีเอรี (“ดีวีนากอมเมเดีย” แบ่งออกเป็นสามตอน “นรก” “แดนชำระ” และ “สวรรค์” กวีนิพนธ์เขียนในรูปของบุคคลที่หนึ่งและเป็นเรื่องที่บรรยายการเดินทางของดานเตไปยังภูมิสามภูมิของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว
ที่เริ่มการเดินทางตั้งแต่วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงวันพุธหลังจากวันอีสเตอร์ของปี
ค.ศ. 1300 โดยมีกวีโรมัน เวอร์จิล เป็นผู้นำใน “นรก” และ “แดนชำระ” และ เบียทริเช พอร์ตินาริ เป็นผู้นำใน “สวรรค์”)
และตั้งชื่อประตูว่า "ประตูนรก" ประติมากรรมแต่ละชิ้นเป็นตัวแทนชองตัวละครจากมหากาพย์
เดิม "นักคิด" ตั้งใจจะให้เป็นดันเต อาลีกีเอรี หน้า "ประตูนรก"
ครุ่นคิดถึงมหากาพย์ ในประติมากรรมชิ้นสุดท้าย รูปปั้นเล็กนั่งอยู่เหนือประตูคิดถึงชะตาของผู้อยู่ข้างใต้
ประติมากรรมเป็นรูปเปลือยเพราะโรแดงต้องการสร้างผู้ที่มีลักษณะเป็นวีรบุรุษทำนองเดียวกับมีเกลันเจโล
ที่แสดงให้เห็นทั้งด้านสติปัญญาและความสามารถทางกวีนิพนธ์
ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดชิ้นหนึ่งของโรแดง
และมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความมีสติปัญญา และต่อมาก็เป็นหัวเรื่องการเสียดสีที่เกิดขึ้นเมื่อโรแดงยังมีชีวิตอยู่
ดังนั้นจากที่มาของ “the
thinker” และความเชื่อมโยงของ กลุ่มครุศิลป์รุ่น 6 จึงได้ตั้งชื่อการจัดนิทรรศการ
กลุ่ม ครุศิลป์รุ่น 6 ครั้งนี้ว่า Thinker-Thinking นักคิด –
ครุ่นคิด เพื่อแสดงความคิดที่มีตัวตนของแต่ละคนในกลุ่มที่กำลังคิดและถ่ายทอดความคิดนั้นออกมาเป็นผลงานศิลปะ
ที่แสดงถึงความคิดที่กลั่นกรองออกมาจากสติปัญญาและประสบการณ์ที่มีความลึกซึ้งในเรื่องราวและเนื้อหาเฉพาะตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น